สรุปสาระสำคัญ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ปี 2560

สรุป พรบ คอม

พ.ร.บ. คอมฯ หรือชื่อเต็มๆ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้ถูกใช้กับคอมพิวเตอร์จริงๆ แต่หมายถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีอื่นที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ตโฟน, โน้ตบุ๊ก, แล็ปท็อป และอื่นๆ

แต่ พ.ร.บ. ฉบับนี้แรกเริ่มเดิมทีเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน ทำไมถึงมีการบังคับใช้เกิดขึ้น?

แรกเริ่มของการใช้... คอมพิวเตอร์

เมื่อเริ่มต้นการบังคับใช้กฎหมายนี้ พ.ร.บ. คอมฯ ถูกบังคับใช้ในปี 2550 โดยใน พ.ร.บ. ฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ ให้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นี้เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตของบุคคลในสังคม เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์เทคโนโลยีส่วนใหญ่โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในหลายรูปแบบจากการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร

การเปลี่ยนแปลงของ... คอมพิวเตอร์

อย่างที่เข้าใจกันดีว่าเทคโนโลยีไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ที่เดิม เทคโนโลยีก่อให้เกิดนวัตกรรม และวิถีการใช้งานเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป กฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์จึงต้องปรับตัวตามการใช้ชีวิตของในปัจจุบัน เมื่อเทียบ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มต้นในปี 2550 กับตอนนี้แล้วจะเห็นประเด็นสำคัญของแต่ละ พ.ร.บ. ที่ออกมาตามแต่ละปีแบบนี้

  • ปี 2550 : ประกาศหลัก อธิบายหลักการโดยรวมของ พ.ร.บ.คอมฯ
  • ปี 2560 : ประกาศเพิ่มเติม อธิบายบทลงโทษของการละเมิด พ.ร.บ.คอมฯ
  • ปี 2564 : ประกาศเพิ่มเติม เพิ่มประเภท และความชัดเจน พร้อมยกตัวอย่างผู้ให้บริการที่เข้าข่าย และเน้นย้ำถึงระบบพิสูจน์ตัวตนและการยืนยันตัวตน

แต่ที่เหนือกว่าคือประกาศ พ.ร.บ. คอมฉบับล่าสุด บังคับใช้ทันทีในวันถัดจากวันประกาศ คือ 14 สิงหาคม 2564 แซงหน้า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่ถูกเลื่อนไปเป็น 1 มิ.ย. 2565 (สามารถศึกษาข้อมูลของ PDPA ได้ ที่นี่)

สาระสำคัญของประกาศเพิ่มเติม... คอมพิวเตอร์ 2564

สาระสำคัญของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นั้นคือการออกกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำโดยมิชอบทางกฎหมาย โดยในฉบับล่าสุดนี้มีสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ

  • ต้องมีระบบพิสูจน์ตัวตนและการยืนยันตัวตนตามเงื่อนไขและมาตรฐานขั้นต่ำในระดับความน่าเชื่อถือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ยืนยันตัวตน 

ตารางเปรียบเทียบ “ผู้ให้บริการ” ที่พ.ร.บ.นี้ครอบคลุมระหว่างปี 2550 กับ 2560 เทียบกับปี 2564
  • เพิ่มประเภทของผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป จาก 4 เป็น 6 ประเภท 

ผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น ทั้งนี้ โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือในนามของบุคคลอื่น หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น หรืออธิบายให้สั้นและเข้าใจง่ายๆ ได้ว่า ผู้ให้บริการที่ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ จะต้องเก็บ Log File เพิ่ม สำหรับประกาศล่าสุดแบ่งผู้ให้บริการเป็น 6 ประเภท (ตามภาพด้านบน) ดังนี้

  1. ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและการกระจายภาพและเสียง เช่น ค่ายโทรศัพท์ต่างๆ, ผู้ให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต, ผู้ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม
  2. ผู้ให้บริการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายและมีสาย, ผู้ประกอบการห้องเช่า, หน่วยงานเอกชนและราชการ
  3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือบริการโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น Web Hosting, File Sharing, Mail Server, Internet Data Center
  4. ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต เช่น ร้านเกมส์
  5. ผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ แอพพลิเคชันที่ทำให้บุคคลติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ เช่น ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์บน App Store, Play Store, HUAWEI APPGallery
  6. ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะมีระบบสมาชิกหรือไม่ก็ตาม เช่น Social Media Platform ต่างๆ
  • เพิ่มผู้ให้บริการเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น จาก 1 เป็น 3 ประเภท
  1. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Webboard, Blog, Internet Banking, Web Services, E-commerce
  2. ผู้ให้บริการเก็บพักข้อมูลในรูปแบบชั่วคราวหรือถาวรโดยมีระบบที่บริหารจัดการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตคลาวด์ (ให้บริการกับผู้ใช้บริการอย่าง end user โดยตรง) ระบุเจาะจงไว้ได้แก่ IaaS, PaaS, Saas, DSaaS และ CDN
  3. ผู้ให้บริการดิจิทัลประเภทต่างๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการให้บริการ เช่น ผู้ให้บริการด้าน Finance, Health, Lifestyle, Property/Urban, Food/Agriculture, Travel, Industry, Insurance, Education, Music, Art and Recreation

และถ้าหากท่านเป็น 1 ในประเภทของผู้ให้บริการตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนด แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเก็บหลักฐาน และพิสูจน์ตัวตน หรือต้องยืนยันตัวตนอย่างไร ต้องติดตามต่อใน https://ilog.ai